ค้นหา
  
Search Engine Optimization Services (SEO)

การล้อมอยุธยา (2309–2310)

การปิดล้อมอยุธยา ระหว่างปี พ.ศ. 2309-พ.ศ. 2310 เป็นการปิดล้อมระยะเวลานานกว่า 14 เดือนระหว่างสงครามคราวเสียกรุงครั้งที่สอง ตรงกับรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าเอกทัศของอาณาจักรอยุธยา และพระเจ้ามังระของอาณาจักรพม่า

เมื่อสงครามคราวเสียกรุงเริ่มขึ้น กองทัพของอาณาจักรพม่า ภายใต้การบัญชาการของเนเมียวสีหบดีและมังมหานรธา ยกมาจากทางทวายและลำปาง ราวเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2309 กองกำลังภายใต้แม่ทัพทั้งสองก็เข้าปิดล้อมกรุงศรีอยุธยาได้สำเร็จในระยะไม่เกิน 1.25 ไมล์จากกำแพงพระนคร (ในพงศาวดารไทยบันทึกไว้ว่า ตอกระออมและดงรักหนองขาว)

ในอดีตกรุงศรีอยุธยามีการป้องกันพระนครโดยมีป้อมปราการเป็นกำแพงอิฐและสูงล้อมรอบตัวเมืองที่กว้าง ดังนั้นจึงสามารถกันมิให้ข้าศึกเข้าจู่โจมตีได้อย่างสะดวก ถึงแม้กองทัพพม่าได้รุกล้อมรอบพระนคร อย่างไรก็ตามการป้องพระนครก็กระทำกันอย่างเหนียวแน่นแข็งแรง แต่ยุทธศาสตร์ที่อาศัยพระนครเป็นปราการสำหรับให้ข้าศึกเข้าล้อม รอเวลาที่ทัพจากหัวเมืองมาช่วยตีกระหนาบนั้นใช้ไม่ได้มานานแล้ว ยุทธศาสตร์ใหม่ในการป้องกันตนเอง อย่างที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชได้ทรงใช้นั้นเป็นที่ยอมรับ นั่นก็คือต้องผลักดันมิให้ข้าศึกเข้ามาประชิดพระนคร สงครามคราวเสียกรุงในปี พ.ศ. 2310 เป็นศึกครั้งแรกและครั้งเดียว ที่ผู้นำอยุธยาสามารถรักษากรุงไว้ได้ จนถึงฤดูน้ำหลากตามแผนที่วางไว้ โดยที่ตัวพระนครไม่ต้องตกอยู่ในสภาพบอบช้ำ และราษฎรที่หลบภัยสงครามในกำแพงเมืองไม่ต้องเผชิญกับความฝืดเคืองด้านเสบียงอาหาร

การวางแนวปะทะได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้กองทัพพม่าซึ่งล้อมกรุงมาเป็นเวลาไม่ต่ำกว่า 10 เดือนนับแต่เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2309 ไม่สามารถแม้แต่จะบุกเข้าใกล้ตัวกำแพงพระนคร หรือตั้งป้อมประชิดกำแพงเพื่อใช้ปืนใหญ่ระดมยิง เหมือนกับที่เคยเคยทำได้ในศึกอลองพญา พม่าทำได้อย่างมากก็แต่เพียงตั้งค่ายล้อมพระนครอยู่ไกล ๆ เช่น ทางทิศตะวันตกเข้ามาได้ไม่เกินวัดท่าการ้อง ขณะที่กำลังส่วนใหญ่ยังคงติดอยู่กลางทุ่งประเชต และทุ่งวัดภูเขาทอง ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้เข้ามาได้ไม่ถึงวัดไชยวัฒนาราม เพราะทางอยุธยาตั้งค่ายใหญ่กันไว้ ทางด้านตะวันออกเข้าได้ ไม่ถึงวัดพิชัย และเป็นไปได้ว่าตลอดลำคูขื่อหน้าจากหัวรอถึงปากน้ำแม่เบี้ย และคลองสวนพลูยังเป็นเขตปลอดจากการยึดครองของพม่า ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้และทิศใต้จากคลองสวนพลู วัดโปรตุเกส ตลอดไปจนถึงวัดพุทไธศวรรย์ และวัดเซนต์โยเซฟยังตกอยู่ภายใต้การยึดครองของอยุธยา ส่วนทางทิศเหนือพม่าเข้าได้ไม่ไกลไปกว่าโพธิ์สามต้นและปากน้ำประสบ

พวกแม่ทัพนายกองของพม่าร้องทุกข์ต่อมังมหานรธาให้เลิกทัพกลับไปก่อน เพราะฝนตกชุกเดี๋ยวน้ำเหนือก็จะหลากมา แต่มังมหานรธาไม่เห็นด้วย และว่ากรุงศรีอยุธยาขัดสนเสบียงอาหาร และกระสุนดินดำจนอ่อนกำลังจวนจะตีได้อยู่แล้ว ฝ่ายกองทัพพม่าก็ได้ตระเตรียมทำไร่ทำนาหาอัตคัตสิ่งใดไม่ ถ้าเลิกทัพกลับไป อยุธยาจะได้ช่องทางหากำลังมาเพิ่มเติม เตรียมรักษาบ้านเมืองกวดขันกว่าแต่ก่อน ถึงยกมาตีอีกที่ไหนจะตีง่ายเหมือนครั้งนี้ มังมหานรธาจึงไม่ยอมให้ทัพกลับ ให้เที่ยวตรวจหาที่ดอนตามโคกตามวัดอันมีอยู่รอบพระนคร แล้วแบ่งหน้าที่กันให้กองทัพแยกออกไปตั้งค่ายสำหรับที่จะอยู่เมื่อถึงฤดูน้ำ และให้ผ่อนช้างม้าพาหนะไปเลี้ยงตามที่ดอนในหัวเมืองใกล้เคียง แล้วให้เที่ยวรวบรวมเรือใหญ่น้อยมาไว้ใช้ในกองทัพ เป็นจำนวนมาก

หลังจากที่หมดฤดูน้ำหลาก มังมหานรธาก็ล้มป่วยลงและถึงแก่กรรมที่ค่ายบ้านสีกุก แต่สาเหตุที่มังมหานรธาถึงแก่กรรมกลับโทษฝ่ายอยุธยา ด้วยแต่ก่อนมากองทัพพม่าฝ่ายเหนือ กับกองทัพพม่าฝ่ายใต้มักแก่งแย่งกัน ด้วยต่างฝ่ายต่างก็เป็นอิสระมิได้ขึ้นแก่กัน ครั้นมังมหานรธาถึงแก่กรรมลง

หลังจากที่มังมหานรธาถึงแก่กรรมแล้ว เนเมียวสีหบดีก็ได้เป็นแม่ทัพใหญ่ขึ้นบังคับบัญชากองทัพทั้งหมดเพียงผู้เดียว ส่งผลให้กองทัพทั้งฝ่ายเหนือและฝ่ายใต้สมทบกันเข้าล้อมกรุงศรีอยุธยา ตัวเนเมียวสีหบดีได้ย้ายจากค่ายปากน้ำประสบมาอยู่ที่ค่ายโพธิ์สามต้น

กองทัพอยุธยาที่รักษาพระนครนั้นเริ่มระส่ำระสายด้วยรู้กันว่าหมดช่องทางที่จะเอาชนะพม่าได้ พวกจีนในกองทัพที่ไปตั้งค่ายอยู่ที่บ้านสวนพลู คิดจะเอาตัวรอดก่อนคบคิดกันประมาณ 300 คน พากันไปยังพระพุทธบาทไปลอกทองคำที่หุ้มพระมณฑปน้อย และแผ่นเงินที่ดาดพื้นพระมณฑปใหญ่มาแบ่งปันกันเป็น อาณาประโยชน์ แล้วเอาไฟเผาพระมณฑปพระพุทธบาทต่อมาค่ายจีนที่บ้านสวนพลูก็เสียแก่พม่า

ต่อมาพม่ายกเข้าตีค่ายที่เพนียดได้ เนเมียวสีหบดีแม่ทัพพม่าก็เข้ามาตั้งอยู่ที่เพนียด แล้วให้กองทัพพม่าเข้าตีค่าย ทหารอยุธยาที่ออกไปตั้งค่ายป้องกันพระนครข้างด้านเหนือ ถูกตีแตกกลับเข้ามาในกรุงหมดทุกค่าย พม่าเข้ามาตั้งค่ายประชิดพระนคร ด้านเหนือ ที่วัดกุฎีดาว วัดสามพิหาร วัดศรีโพธิ์ วัดนางชี วัดแม่นางปลื้ม วัดมณฑป แล้วให้ปลูกหอรบ เอาปืนขึ้นจังก้ายิงเข้าไปในพระนครทุกวันมิได้ขาด

ส่วนแม่ทัพข้างใต้ก็ยกเข้ามาตีไทยที่วัดพุทไธสวรรย์ แล้วไปตีค่ายที่วัดชัยวัฒนาราม รบกันอยู่ได้ 8-9 วันก็เสียค่ายแก่พม่า แต่ที่ค่ายของพระยาตากสินที่วัดพิชัยนั้น พระยาตากทิ้งค่ายไปเสียก่อนที่พม่าจะยกเข้ามาตี

หลังจากนายทัพพม่ารู้เป็นที่แน่ชัดแล้วว่า กองทัพของทางกรุงศรีอยุธยาอ่อนกำลังลงมาก และประชาชนในเมืองก็อยู่ในสภาพอดยาก จึงตกลงใจเริ่มขุดอุโมงค์ลอดตัวกำแพงอยุธยาทางด้านหัวรอ ซึ่งเป็นจุดที่แคบที่สุดของคูเมือง อุโมงค์ที่ขุดมีอยู่ด้วยกันทั้งสิ้น 5 อุโมงค์ ในจำนวนนั้น 2 อุโมงค์เป็นอุโมงค์ที่ขุดมาหยุดลงตรงใต้ฐานกำแพง จากนั้นก็ขยายแนวขุดไปตามแนวกำแพงทั้งสองด้านเป็นขนาดความยาวประมาณ 350 หลา ด้านใต้อุโมงค์ใช้ไม้ทำขื่อรับฐานกำแพงไว้อีกชั้นหนึ่ง

ส่วนอุโมงค์ที่เหลืออีก 3 อุโมงค์นั้นขุดลอดฐานกำแพงเข้าไปในตัวพระนคร แต่ยังคงเหลือชั้นดินปิดไว้ประมาณ 2 ฟุต การปฏิบัติการขุดอุโมงค์ดังกล่าวมิได้เป็นไปอย่างราบรื่น เพราะปกติทางฝ่ายอยุธยาบนเชิงเทินใช้ปืนยิงกลุ่มพม่า ที่เข้ามาใกล้แนวกำแพงอยู่ตลอดเวลา เป็นเหตุให้พม่าต้องดำเนินการเป็นขั้นตอนคือ การสร้างสะพานในชั้นต้นทำสะพานข้ามคูก่อน จากนั้นจึงสร้างค่ายใหม่ขึ้นอีก 3 ค่ายประชิดแนวคูเมืองด้านทิศเหนือเสร็จแล้วจึงเริ่มขุดอุโมงค์ ในขณะที่ฝ่ายอยุธยาไม่ได้เพิกเฉยปฏิบัติการดังกล่าว ในครั้งนี้พระมหามนตรี ได้อาสาออกไปตีค่ายพม่าที่เข้ามาตั้งประชิดทั้ง 3 ค่าย พระเจ้าเอกทัศจึงโปรดให้จัดพลออกไป 50,000 คน ช้าง 500 เชือก ปรากฏว่าในครั้งนี้พระมหามนตรีได้ทำการรบอย่างอาจหาญ สามารถยึดค่ายพม่าได้ทั้ง 3 ค่าย แต่ภายหลังพม่าได้ส่งกำลังหนุนออกมาโอบล้อมทัพไทย จนเป็นเหตุให้พระมหามนตรีต้องนำกำลังถอนกลับเข้าเมือง

ต่อมาพม่ายกเข้ามาเผาพระที่นั่งเพนียด แล้วตั้งค่าย ณ เพนียดคล้องช้างและวัดสามวิหาร วัดมณฑป จากนั้นก็ทำสะพานข้ามทำนบ รอเข้ามาขุดอุโมงค์ที่เชิงกำแพงและตั้งป้อมศาลาดิน ตั้งค่ายวัดแม่นางปลื้ม ต่อป้อมสูงเอาปืนใหญ่ขึ้นยิง แล้วจึงตั้งค่ายเพิ่มขึ้นอีกค่ายหนึ่งที่วัดศรีโพธิ์

กลยุทธ์ที่พม่านำมาใช้ในการรบคราวนี้ก็คือ ปิดล้อมกรุงไว้ แม้น้ำจะท่วมก็ไม่ถอย จัดการดำเนินการ

กลยุทธ์ในการเข้าตีกรุงขั้นสุดท้าย พม่าเปลี่ยนจากการเอาบันไดพาดปีนข้ามกำแพง มา เป็นการขุดอุโมงค์มุดลงใต้กำแพง โดยดำเนินการเป็นขั้น ๆ ดังนี้

การที่กรุงศรีอยุธยามีข้าศึกเข้ามาประชิดติดพันก็นับว่าเป็นภัยร้ายแรงอยู่แล้ว ซ้ำยังมาเกิดอัคคีภัยไหม้บ้านเรือนอีก ความอัตคัดขาดแคลนที่มีอยู่เป็นทุนเดิมก็กลับโถมทับทวียิ่งขึ้น ราษฎรต่างก็ได้รับความทุกข์ยากแสนสาหัส บ้านเรือนไหม้ไปกว่า 10,000 หลัง ทำให้ราษฎรไม่มีที่พักอาศัยหลายหมื่นคน เมื่อเห็นว่าราษฎรต้องเผชิญกับความตาย ไร้ที่อยู่ทั้งขาดแคลนอาหาร กำลังใจและกำลังกายก็ถดถอยลง สมเด็จพระเจ้าเอกทัศ จึงเจรจากับพม่าขอเลิกรบ ยอมเป็นเมืองขึ้นต่อพระเจ้าอังวะ แต่แม่ทัพพม่าไม่ยอมเลิก

พม่ายังดำรงความมุ่งหมายเดิมในการรบครั้งนี้ไว้อย่างเหนียวแน่น ตั้งแต่เริ่มต้นจนกระทั่งบัดนี้ ซึ่งน่าจะยุติการรบได้แล้ว ฝ่ายอยุธยาเห็นว่าสภาพการณ์ต่าง ๆ คับขันถึงที่สุดแล้วก็ขอยอมแพ้เป็นเมืองขึ้นของพม่าอย่างที่เคยทำกันมาแต่โบราณกาล แต่พม่าปฏิเสธไม่ยอมรับ เพราะการที่อยุธยายอมแพ้นั้นมิใช่ความมุ่งหมายของฝ่ายพม่า พม่าจึงไม่สนใจเสีย

ในวันที่กรุงแตกนั้น เวลาประมาณบ่ายสามโมง พม่าจุดไฟสุมรากกำแพงเมืองตรงหัวรอที่ริมป้อมมหาชัย และยิงปืนใหญ่ระดมเข้าไปในพระนคร จากบรรดาค่ายที่รายล้อมทุกค่าย พอเพลาพลบค่ำกำแพงเมืองตรงที่เอาไฟสุมทรุดลง เวลา 2 ทุ่ม แม่ทัพพม่ายิงปืนเป็นสัญญาณให้ทหารเข้าพระนครพร้อมกันทุกด้าน พม่าเอาบันไดปีนพาดเข้ามาได้ตรงที่กำแพงทรุดนั้นก่อน ทหารอยุธยาที่รักษาหน้าที่เหลือกำลังจะต่อสู้ พม่าก็สามารถเข้าพระนครได้ในเวลาค่ำวันนั้นทุกทาง

หลังจากที่เสียกรุงศรีอยุธยาแล้ว พวกพม่าได้บุกเข้ามายังตัวพระนครในตอนกลางคืน แล้วจุดไฟเผาบ้านเรือนของชาวบ้าน ตลอดจนปราสาทราชมณเทียร ทำให้ไฟไหม้ลุกลามแสงเพลิงสว่างดังกลางวัน เมื่อพม่าเห็นว่าไม่มีผู้ใครมาขัดขวางแล้ว ก็เที่ยวฉกชิงและเก็บรวบรวมทรัพย์จับผู้คนอลหม่านทั่วไปทั้งพระนคร แต่ด้วยเป็นเวลากลางคืน ชาวเมืองจึงหนีรอดไปได้มาก พม่าจับได้ประมาณ 30,000 คน พร้อมทั้งเจ้านายทั้งข้าราชการผู้ใหญ่ผู้น้อย และพระภิกษุสามเณรทั้งหลายที่หนีไม่พ้น พม่าก็จับเอารวมไปคุมไว้ที่ค่ายโพธิ์สามต้น ส่วนผู้คนพลเมืองที่จับได้ก็แจกจ่ายกันไปคุมไว้ตามค่ายของแม่ทัพนายกอง

หลังจากที่กองทัพพม่ายึดกรุงศรีอยุธยาสำเร็จแล้ว จึงพักอยู่ประมาณ 10 วัน พม่าใช้เวลาจุดไฟเผาบ้านเมืองเป็นเวลา 9 วัน 9 คืน จนรวบรวมเชลยและทรัพย์สมบัติเสร็จแล้วจึงยกทัพกลับไป โดยกวาดต้อนผู้คน ช้าง ม้า และนำสมเด็จพระเจ้าอุทุมพรไปด้วย เนเมียวสีหบดีได้แต่งตั้งให้สุกี้เป็นนายทัพให้มองญาพม่าเป็นปลัดทัพคุมพลพม่าและมอญรวม 3,000 คนตั้งค่ายอยู่ที่ค่ายโพธิ์สามต้น คอยสืบจับผู้คนและเก็บทรัพย์สิ่งของส่งตามไป แล้วตั้งนายทองอินให้เป็นเจ้าเมืองธนบุรี แล้วแบ่งแยกกองทัพออกเป็น 3 กองทัพ กองทัพทางเหนือ มีเนเมียวสีหบดีแม่ทัพคุม เจ้านายและข้าราชการที่เป็นเชลยกับทรัพย์สิ่งของที่ดีมีราคามากมาย ยกกลับไปทางด่านแม่ละเมาะ กองทัพทางใต้ให้เจ้าเมืองพุกามเป็นนายทัพคุมพวกเรือบรรทุก บรรดาทรัพย์สิ่งของอันเป็นของใหญ่หนัก ๆ ไปทางเมืองธนบุรีและท่าจีน แม่กลองกองหนึ่ง อีกกองหนึ่งยกเป็นกองทัพบกไปเมืองสุพรรณบุรีไปสมทบกับกองเรือที่เมือง กาญจนบุรี รวมกันยกกลับไปทางด่านพระเจดีย์สามองค์ ในครั้งนั้นพม่าได้ปืนใหญ่ 1,200 กระบอก ปืนเล็กหลายหมื่นกระบอก รวมทั้งได้ปืนคู่แฝดหล่อด้วยทองสำริด ขนาดยาว 12 ศอก และเรือพระที่นั่งกิ่งอีก 4 ลำด้วย

สำหรับปืนพระพิรุณแสนห่านั้นมีขนาดใหญ่มาก เมื่อตอนใกล้กรุงจะแตกหมดความหวังที่จะชนะพม่าแล้ว ปืนกระบอกนี้ก็ถูกทิ้งลงในสระแก้วในพระราชวังกรุงเก่า ภายหลังพม่าทราบเรื่องเข้า จึงได้นำขึ้นมาจากสระ แล้วตัวปกันหวุ่นแม่ทัพภาคใต้ขนไปทางเรือ จุดหมายปลายทาง คือ เมืองกาญจนบุรี โดยไปบรรจบกับกองทัพบกที่นั่น ครั้นมาถึงตลาดแก้วเมืองนนทบุรี เห็นว่าปืนใหญ่พระพิรุณแสนห่านี้หนักเหลือกำลังที่จะเอาไปเมืองอังวะได้ ปกันหวุ่นจึงให้เข็นชักขึ้นจากเรือที่วัดเขมา ให้เอาดินดำบรรจุเต็มกระบอก จุดเพลิงระเบิดเสีย และขนชิ้นส่วนที่เป็นทองสำริดกลับไปเมืองอังวะ โดยที่ทัพพม่าออกจากกรุงศรีอยุธยาทั้งหมด เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2310 หลังจากตีกรุงได้แล้วร่วม 2 เดือน

ส่วนเรื่องเชลยนั้นพม่าจับเชลยคนไทยได้มากเกินกว่าจะมีเครื่องพันธนาการเพียงพอ จึงเจาะบริเวณเอ็นเหนือส้นเท้าแล้วร้อยด้วยหวายติดกันเป็นพวง เพื่อกวาดต้อนเชลยไทยให้เดินทางไปยังกรุงอังวะ ประเทศพม่า นับแต่นั้นมาคนไทยเรียกบริเวณเอ็นเหนือส้นเท้าว่า “เอ็นร้อยหวาย ” ในปัจจุบัน เชลยศึกชาวไทยที่ถูกพม่ากวาดต้อนไปครั้งนั้น ได้ไปตั้งบ้านเรือนอยู่ที่บริเวณปองเลไต๊ (ตึกปองเล) ใกล้คลองชะเวตาชอง หรือคลองทองคำ แถบระแหงโม่งตีส หรือตลาดระแหง ห่างจากเมืองมัณฑะเลย์ ประมาณ 13 กิโลเมตร มีวัดระไห่ เป็นศูนย์กลางของหมู่บ้าน มีตลาดโยเดีย และมีการรำโยเดียที่มีท่ารำชั้นสูง เช่น พรหมสี่หน้าของไทย ในเมืองพม่าปัจจุบันด้วย

พระเจ้าอุทุมพรถูกพระเจ้ามังระบังคับให้ลาผนวช แล้วให้ตั้งตำหนักอยู่ที่เมืองจักกาย (สแคง) ตรงหน้าเมืองอังวะ พร้อมด้วยเจ้านายและข้าราชการอยุธยาก็รวบรวมอยู่ที่นั่นเป็นส่วนมาก พม่าได้ซักถามเรื่องพงศาวดารและแบบแผนราชประเพณีกรุงศรีอยุธยาจดลงในจดหมายเหตุ คือ เอกสารที่ฝ่ายไทยได้ฉบับมาแปลพิมพ์เรียกว่า "คำให้การขุนหลวงหาวัด" หรือ "คำให้การชาวกรุงเก่า" แต่ส่วนพวกราษฎรที่ถูกกวาดต้อนไปจำนวนมากนั้น พม่าแจกจ่ายไปอยู่ตามที่ต่าง ๆ ภายหลังหนีคืนมาบ้านเมืองได้บ้างก็มี แต่ก็สาบสูญไปในพม่าเสียเป็นส่วนมาก พระเจ้าอุทุมพรไม่เสด็จกลับมาอยุธยาอีก และสิ้นพระชนม์ที่เมืองจักกาย (สแคง)ในปี พ.ศ. 2329 หลักฐานสุดท้ายของเจ้านายพระองค์นี้ที่เหลืออยู่ก็คือ เจดีย์ที่เมืองจักกายเท่านั้น

แอนโทนี โกยาตัน ชาวอาร์เมเนียน อดีต Head of the Foreign Europeans ในสยามและ The Arabian Priest Seyed Ali ซึ่งแต่ก่อนได้พำนักอยู่ในกรุงสยามได้เล่าเรื่องราวให้ Shabandar [ชาแบนดาร์] พี แวนเดอร์วูร์ต ฟังดังนี้:

"... หลังจากที่คนรับใช้ของกษัตริย์ได้ออกไปแล้วในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2308 ไม่นานนัก พม่าก็เข้าล้อมกรุงสยามในเดือนกรกฎาคมหรือสิงหาคม พ.ศ. 2309 หลังจากที่ได้ทำลายเมืองต่าง ๆ ที่อยู่รอบ ๆ ได้แล้ว และพม่าได้วางที่ตั้งยิงปืนใหญ่ขนาดเล็กขึ้นโดยรอบกรุงเพื่อมิให้ผู้ใดเข้าหรือออกได้ สภาพเช่นนี้เป็นไปจนกระทั่งถึงเดือนมีนาคม พ.ศ. 2310 ในเวลาที่น้ำขึ้นท่วมรอบกรุง พม่าได้เคลื่อนที่เข้าไปใกล้กรุง ในเวลากลางคืนด้วยเรือหลายลำ ใช้บันไดพาดกำแพงหลายแห่ง และโยนหม้อดินที่บรรจุดินปืนเข้าไปภายในกำแพงที่ถูกล้อม ครั้นเมื่อยึดกรุงได้แล้ว พวกพม่าได้ช่วยกันทำลายเมืองลงเป็นเถ้าถ่า หมด การปฏิบัติในครั้งนี้พวกพม่าได้รับการช่วยเหลือเป็นอย่างมากจากพวกเพื่อนร่วมชาติของตนที่อยู่ภายในกรุง ซึ่งมีจำนวนประมาณห้าร้อยคน กับพวกพม่าที่ทำการรุกเข้าไปที่สามารถทำการติดต่อกันได้ เรื่องได้มีต่อไปว่า หลังจากที่ได้สังหารประชาชนส่วนมากผู้ซึ่งหนีความโกลาหลไปแล้ว พวกพม่าก็แบ่งคนออกเป็นพวก ๆ ตามจำนวนของผู้ที่ยังมีชีวิตอยู่ ออกเป็นหลายพวกแล้วนำพวกเหล่านี้ไป หลังจากที่ได้ทำการวางเพลิง Lodge of the Company ที่ทำการของบริษัทแล้ว ส่วนกษัตริย์หนุ่มด้วยพระบรมวงศานุวงศ์เช่นเดียวกันกับ Berquelang ก็รวมอยู่ในหมู่ประชาชนที่ถูกนำไปด้วย ในระหว่างทาง กษัตริย์หนุ่มได้ประชวรสวรรคต และ Berquelang ก็ถึงแก่กรรมด้วยการวางยาพิษตนเอง ผู้ให้การได้กล่าวด้วยว่า กษัตริย์องค์ที่สูงด้วยวัยถูกลอบปลงพระชนม์ ในคืนเดียวกันโดยชาวสยามด้วยกัน..."

ผู้ที่บันทึกพร้อมกับเพื่อนในคณะ ซึ่งมีจำนวนประมาณหนึ่งพันคนประกอบด้วยชาวโปรตุเกส อาร์เมเนียน มอญ สยาม และมาเลย์ ทั้งชาย หญิงและเด็ก ได้ถูกนำตัวมุ่งหน้าไปยังพะโคภายใต้การควบคุมของชาวพม่ากลุ่มเล็ก ๆ เพียงสิบห้าคนเท่านั้น ในระหว่างครึ่งทาง พวกเขาประสบโอกาสจับพวกที่ควบคุมไว้ได้ และพากันหลบหนีมา หลังจากที่ได้บุกป่าฝ่าดงมาแล้ว พวกเขาก็กลับมาถึงแม่น้ำสยามอีกครั้งหนึ่ง


 

 

รับจำนำรถยนต์ รับจำนำรถจอด

เบอร์ลินตะวันออก ประเทศเยอรมนีตะวันออก ปฏิทินฮิบรู เจ้า โย่วถิง ดาบมังกรหยก สตรอเบอร์รี ไทยพาณิชย์ เคน ธีรเดช อุรัสยา เสปอร์บันด์ พรุ่งนี้ฉันจะรักคุณ ตะวันทอแสง รัก 7 ปี ดี 7 หน มอร์ มิวสิค วงทู อนึ่ง คิดถึงพอสังเขป รุ่น 2 เธอกับฉัน เป๊ปซี่ น้ำอัดลม แยม ผ้าอ้อม ชัชชัย สุขขาวดี ประชากรศาสตร์สิงคโปร์ โนโลโก้ นายแบบ จารุจินต์ นภีตะภัฏ ยัน ฟัน เดอร์ไฮเดิน พระเจ้าอาฟงซูที่ 6 แห่งโปรตุเกส บังทันบอยส์ เฟย์ ฟาง แก้ว ธนันต์ธรญ์ นีระสิงห์ เอ็มมี รอสซัม หยาง มี่ ศรัณยู วินัยพานิช เจนนิเฟอร์ ฮัดสัน เค็นอิชิ ซุซุมุระ พอล วอล์กเกอร์ แอนดรูว์ บิ๊กส์ ฮันส์ ซิมเมอร์ แบร์รี ไวต์ สตาญิสวัฟ แลม เดสมอนด์ เลเวลีน หลุยส์ที่ 4 แกรนด์ดยุคแห่งเฮสส์และไรน์ กีโยม เลอ ฌ็องตี ลอเรนโซที่ 2 เดอ เมดิชิ มาตราริกเตอร์ วงจรรวม แจ็ก คิลบี ซิมโฟนีหมายเลข 8 (มาห์เลอร์) เรอัลเบติส เฮนรี ฮัดสัน แคว้นอารากอง ตุ๊กกี้ ชิงร้อยชิงล้าน กันต์ กันตถาวร เอก ฮิมสกุล ปัญญา นิรันดร์กุล แฟนพันธุ์แท้ 2014 แฟนพันธุ์แท้ 2013 แฟนพันธุ์แท้ 2012 แฟนพันธุ์แท้ 2008 แฟนพันธุ์แท้ 2007 แฟนพันธุ์แท้ 2006 แฟนพันธุ์แท้ 2005 แฟนพันธุ์แท้ 2004 แฟนพันธุ์แท้ 2003 แฟนพันธุ์แท้ 2002 แฟนพันธุ์แท้ 2001 แฟนพันธุ์แท้ 2000 บัวชมพู ฟอร์ด ซาซ่า เดอะแบนด์ไทยแลนด์ แฟนพันธุ์แท้ปี 2015 แฟนพันธุ์แท้ปี 2014 แฟนพันธุ์แท้ปี 2013 แฟนพันธุ์แท้ปี 2012 ไทยแลนด์ก็อตทาเลนต์ พรสวรรค์ บันดาลชีวิต บุปผาราตรี เฟส 2 โมเดิร์นไนน์ ทีวี บุปผาราตรี ไฟว์ไลฟ์ แฟนพันธุ์แท้ รางวัลนาฏราช นักจัดรายการวิทยุ สมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 7 แบร์นาร์แห่งแกลร์โว กาอึน จิรายุทธ ผโลประการ อัลบาโร เนเกรโด ปกรณ์ ฉัตรบริรักษ์ แอนดรูว์ การ์ฟิลด์ เอมี่ อดัมส์ ทรงยศ สุขมากอนันต์ ดอน คิง สมเด็จพระวันรัต (จ่าย ปุณฺณทตฺโต) สาธารณรัฐเอสโตเนีย สาธารณรัฐอาหรับซีเรีย เน็ตไอดอล เอะโระเก คอสเพลย์ เอวีไอดอล ช็อคโกบอล มุกะอิ

 

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90
91
92
93
94
95
96
97
98
99
100
101
102
103
104
105
106
107
108
109
110
111
112
113
114
115
116
117
118
119
120
121
122
123
124
125
126
127
128
129
130
131
132
133
134
135
136
137
138
139
140
141
142
143
144
145
146
147
148
149
150
151
152
153
154
155
156
157
158
159
160
161
162
163
164
165
166
167
168
169
170
171
172
173
174
175
176
177
178
179
180
181
182
183
184
185
186
187
188
189
190
191
192
193
194
195
196
197
198
199
200
201
202
203
204
205
206
207
208
209
210
211
212
213
214
215
216
217
218
219
220
221
222
223
224
225
226
227
228
229
230
231
232
233
จำนำรถราชบุรี รถยนต์ เงินด่วน รับจำนำรถยนต์ จำนำรถยนต์ จำนำรถ 23301